ครัวไกลบ้านได้ทำการปรังปรุงเวบไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นในระบบสมาร์ทโฟน และได้รวมข้อมูลเมนูอาหารและ สมาชิกจากทั้งเวบไซต์เก่าและใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว

สมาชิกท่านไหนมีปัญหาไม่สามารถล็อกอินได้ ให้ทำการเปลี่ยนพาสเวิร์ดโดยคลิ๊กลิ้งค์นี้ ลืมรหัสผ่าน
ถ้าท่านใดมีชื่อสมาชิกมากกว่าหนึ่งชื่อแล้วต้องการรวมโพสทั้งหมดให้อยู่ในชื่อสมาชิกเดียว หรือมีปัญหาในการใช้เวบไซต์
สามารถส่งอีเมล์แจ้งรายละเอียดมาได้ที่ [email protected] หรือส่งข้อความได้ที่ user: sillyfooks

ถ้าชอบครัวไกลบ้าน อย่าลืมคลิ๊กไลค์เฟสบุ๊คให้ครัวไกลบ้านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

พระอารมณ์ขันของพระเทพ

ห้องนี้เปิดไว้สำหรับให้อาสาสมัครช่วยงานเว็บครัวไกลบ้าน เพื่อใช้เป็นห้องทดลองตั้งกระทู้ แตกระทู้ รวมกระทู้ ฯลฯ สมาชิกมองไม่เห็นห้องนี้นะคะ หากไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับคำสั่งต่างๆอย่างไร เชิญแวะฝึกหัดที่ห้องนี้ได้เลยค่ะ

โพสต์โดย churace » เสาร์ ก.ย. 13, 2008 1:46 am

<span style='font-size:14pt;line-height:100%'>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกับเพลงลูกทุ่ง

คัดจากบทพระราชนิพนธ์ "ลูกทุ่งกับเพลงไทย" ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้พิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในงาน "ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๑" มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันทื่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และ พิมพ์ซ้ำในหนังสือ"๖๐ ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย"

"เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ นายสกุล ศรีพรหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะผู้จัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง” ได้นำศิลปินเพลงลูกทุ่งจำนวนมากมาพบข้าพเจ้าเพื่อรับรางวัลเกียรติคุณเพลงลูกทุ่งดีเด่น หลังจากนั้นอีก ๔ วัน ตรงกับเวลาค่ำวันเสาร์ที่ ๑๖ เดือนเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ติดตามรายการโทรทัศน์ถ่ายทอดรายการแสดงเพลงลูกทุ่งที่คัดแต่เพลงเอกมาแสดง ๕๐ เพลง รู้สึกว่าเป็นรายการพิเศษ แม้จะหยุดถ่ายทอดมาเสนอข่าวตอนสองทุ่ม ก็เปิดวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ฟังต่อ อดไม่ได้ที่จะต้องร้องเพลงตามไปด้วย ดูจนจบรายการนึกว่าจะได้ฟังอีกหลายเพลงที่ชอบ แต่ไม่ได้ฟังมาอ่านข้อกำหนดในการคัดเลือกเพลงดีเด่นทีหลัง จึงได้ทราบว่าเพลงลูกทุ่งที่ได้ทำนองมาจากเพลงไทยของเก่านั้นเขาไม่นับมาพิจารณาด้วย นับว่าน่าเสียดายเพราะบางเพลงที่มาจากเพลงไทยของเก่านั้นเป็นเพลงที่ดีไม่แพ้เพลงที่คิดทำนองขึ้นใหม่ หากจะนับก็คงได้หลายเพลงทีเดียว

.เพลงลูกทุ่งมีวิวัฒนาการมาเพียง ๕๐ ปี นับว่านานมาก ถ้าจะเปรียบเทียบกับเพลงพื้นบ้านทั่วๆ ไป และเพลงไทยแล้ว นับว่าเพลงไทยมีอายุน้อยมาก แต่ทำไมเพลงลูกทุ่งจึงแพร่หลายเป็นที่ติดอกติดใจคนทุกเพศทุกวัยได้มากมายทั่วประเทศ เข้าถึงใจคนฟังได้เร็วกว่าเพลงไทยสากล และเพลงไทยเสียอีก เป็นเรื่องน่าสนใจมากทีเดียว
..........ข้าพเจ้าติดตามเพลงลูกทุ่งมาเพียง ๒๐ ปีเศษ โดยเฉพาะในระยะที่เรียกว่า “ยุคทองของลูกทุ่ง” แล้ว ตอนนั้นข้าพเจ้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมต้น มีเพื่อนวัยเดียวกันกลุ่มใหญ่ชอบฟังเพลงลูกทุ่งด้วยกัน เมื่อว่างจากการเรียนก็จะหลบมุมไปฟังวิทยุแล้วจดเนื้อ หรือบางทีก็หาหนังสือบทเพลงลูกทุ่งมาร้องกันเล่น ๆ สมัยนั้นเทปบันทึกเสียงยังไม่แพร่หลาย รายการลูกทุ่งในโทรทัศน์ก็ไม่ค่อยจะมี ข้าพเจ้ามักจะเอาฉิ่งติดไปในกระเป๋าหนังสือเพื่อใช้ตีจังหวะ เรารู้จักนักร้องลูกทุ่งทุกคน จำเพลงลูกทุ่งได้เป็นร้อย ๆ เพลงทีเดียว (ถ้าเรียนหนังสือแล้วจำง่ายอย่างนี้คงจะดีแน่) ถึงจุดนี้เองทำให้นึกได้ว่า เนื้อเพลงและทำนองเพลงลูกทุ่งนั้นจำง่ายร้องตามได้ง่าย เข้าใจง่าย จึงได้เปรียบเพลงไทยและเพลงพื้นบ้าน นอกจากนั้นเพื่อนข้าพเจ้าบางคนนิยมนักร้องที่มาจากจังหวัดของตนเป็นพิเศษ นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่า นักร้องเพลงลูกทุ่งที่เสียงเพราะร้องเพลงดีนั้นมาจากทุกทิศทั่วประเทศ ร้องเพลงด้วยเสียงและลีลาที่มากจากบ้านเดิมของตน เรียกได้ว่าพูดภาษาเดียวกัน เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ทำไมเพลงลูกทุ่งจะไม่เป็นที่ยอมรับทั่วประเทศอย่างกว้างขวางก็เพราะคนบ้านเดียวกันพูดภาษา สำเนียงเดียวกันนั่นเอง</span>
churace
 

โพสต์โดย churace » เสาร์ ก.ย. 13, 2008 1:53 am

[SIZE=7]เวลาเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปนราธิวาสเวลาเช้า ๆ เราจะเปิดวิทยุฟังเพลงลูกทุ่ง ที่ฟังประจำคือวิทยุ ๙๑๒ กรป.กลาง ชื่อรายการลูกทุ่งพัฒนาเวลา ๖.๓๐ นาฬิกา ผู้จัดรายการจะเปิดเพลงตามที่ผู้ฟังเขียนขอไปแถมบอกด้วยว่า เพลงนั้นใครขอให้แก่ใครสลับด้วยข่าวราชการเช่นวันนี้ หน่วยแพทย์พระราชทานจะไปทำการตรวจโรคที่ใด บางทีก็มีข่าวรับสมัครเข้าทำงานหน่วยงานฝึกอาชีพเคลื่อนที่ งานประกวดพืชผัก ผลไม้ การแข่งเรือกอและประชันนกเขาไปจนถึงแนะนำให้ประกอบคุณงามความดีต่าง ๆ พวกเราที่ตามเสด็จก็ขอเพลงกับเขาบ้าง ใช้วิธีโทรศัพท์ขอโดยตรงและมอบให้บุคคลต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยทั้งนอกและในวัง ใช้นามว่า “ป้าช้าง” บางทีก็มีคนให้ “ป้าช้าง” มีกระเซ้าเย้าแหย่กันด้วยเพลงที่มีคารมคมคาย เช่น “ช้างชื่อน้อย ชื่อจิ๊บจ๊อยแต่ตัวเบ้อเร่อ…” เป็นต้น ตอนหลัง ๆ ต่อมาผู้จัดรายการชักรู้ว่าหมายถึงใคร ถึงกับออกอากาศใช้คำว่า “ท่านป้าช้าง” สนุกดี และนี่ก็เป็นความดีอีกข้อหนึ่งของเพลงลูกทุ่งที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาอันสั้นก็ได้หัวเราะยิ้มแย้มกันแล้ว เพลงลูกทุ่งจึงแพร่หลายมาก

.สังเกตได้ว่าเวลาเกิดสถานการณ์อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้องฝนตก ฟ้าร้อง น้ำท่วม ตลอดจนเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งนอกและในประเทศ เพลงลูกทุ่งก็ออกจะออกมาใหม่ทันสมัยกับข่าวนั้นทันทีราวกับเป็นสมุดบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น เนื้อร้องเพลงลูกทุ่งมักจะสะท้อนภาพชีวิตจริงของคน ปรากฎการณ์ธรรมชาติ การเกิดสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองได้เป็นอย่างดี ใช้ภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจและจำง่าย ฟังแล้วไม่ต้องแปลความหมาย เหนือไปกว่านั้นเพลงลูกทุ่งยังสรรหาคำที่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย มีสำนวนกระแนะกระแหนเจ็บ ๆ คัน ๆ มาเสนอได้หลายรูปแบบ เรียกได้ว่าเข้าถึงใจคนฟังในเวลาอันรวดเร็ว คุณสมบัติในข้อที่ว่าสามารถบันทึกเหตุการณ์ได้ดีนี้เองเป็นคุณสมบัติพิเศษที่เพลงชนิดอื่นทำได้ไม่ดี และมีความหลากหลายเท่าเทียมกับเพลงลูกทุ่ง คุณสมบัติข้อนี้ของเพลงลูกทุ่งคือการถ่ายทอดรูปแบบมาจากเพลงพื้นบ้านนั่นเองขณะเดียวกันเพลงไทยแท้ ๆ ก็ขาดคุณสมบัติในข้อนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าประวัติศาสตร์สังคมไทยนั้น ได้ปรากฎอยู่ในเพลงลูกทุ่งไม่น้อยทีเดียว ตัวอย่างที่สนับสนุนข้อความข้างต้นนั้นมีเท่าที่นึกออก เช่น เพลงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น ลาน้องไปเวียดนาม ไวพจน์ เพชรสุพรรณ อพยพ คำรณ สัมบุณณานนท์ น้ำท่วม ศรคีรี ศรีประจวบ เป็นต้น

[SIZE=7]
churace
 

โพสต์โดย churace » เสาร์ ก.ย. 13, 2008 1:55 am

<span style='font-size:14pt;line-height:100%'>เพลงบันทึกเหตุการณ์ที่ยุคปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ข้าพเจ้ายังติดใจในสำนวนเพลงไม่หายก็คือเพลง “แม่ค้าตาคม” ของศรคีรี ศรีประจวบ ซึ่งเดี๋ยวนี้เรือด่วนบ้านแพนดูเหมือนจะเลิกไปแล้ว แต่เพลงนี้บันทึกเรื่องเก่าไว้ดีทีเดียว อีกเพลงหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความคิดเก่า ๆ เรื่องตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่ยอมรับไปแล้ว แต่ก็มีบันทึกในเพลงลูกทุ่งชุด ต.ช.ด. ว่า "หากทางการยังไม่เรียกตัวพี่กลับ มีเสียมสักหอบ มีจอบสักหาบ แม่เนื้อกลอย จะถางดงป่าดอย สร้างวิมานน้อยชายแดน…" เพลงที่เกี่ยวกับชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ก็มีมากมายหลายเพลง เช่น จักรยานคนจน ยอดรัก สลักใจ เด็กท้องนา ละอองดาว โสธรบุญ ขันหมากมาแล้ว ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย เก็บเงินแต่งงาน เมืองมนต์ สมบัติเจริญ ไม้เรียว เสรี รุ่งสว่าง ไอ้หนุ่มตังเก ไพรวัลย์ ลูกเพชร

เมื่อยังเรียนชั้นมัธยม คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ข้าพเจ้าจะต้องร้องเพลงความที่เคยชินกับเพลงลูกทุ่งนึกทำนองแหล่ได้แล้วนึกถึงส้มตำอีสานก็เข้าครัวถามป้า ๆ ให้แน่ใจว่าใส่อะไรกันบ้างจะได้ครบเครื่อง แล้ววันนี้ก็ได้เพลงลูกทุ่งชื่อ “ส้มตำ” ออกมาร้องได้ เป็นที่สนุกสนานกันมาก ต่อมาก็มีคนมาขอเอาไปใช้ในภาพยนต์ไทยเรื่องหนึ่ง ก็ให้ไปทำให้มีความภูมิใจว่าเราก็มีส่วนร่วมอยู่กับเพลงลูกทุ่งเหมือนกัน
..........เมื่อข้าพเจ้าเติบโตขึ้น ได้ฟังเพลงอย่างพินิจพิเคราะห์มากขึ้นกว่าเดิมทั้งได้ร่ำเรียนดนตรีไทยจากท่านผู้รู้ต่าง ๆ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก็ได้เห็นความจริงว่า นักร้องลูกทุ่งนั้นที่ดีมากคือ การร้องเพลงด้วยเสียงแท้และร้องเต็มเสียงอย่างชัดถ้อยชัดคำ ข้อนี้เป็นที่ทราบกันแล้วว่าถ้าเสียงไม่ดีจริง กำลังไม่ดีจริงจะเป็นนักร้องลูกทุ่งที่ดีได้ยากเหมือนนักร้องเพลงไทยที่ดีต้องร้องให้เต็มเสียงเช่นเดียวกัน
..........อีกประการหนึ่ง ลีลาการขับร้องเพลงลูกทุ่ง คือ การเอื้อนเสียง นักร้องลูกทุ่งทุกคนมีวิธีเอื้อนเสียงให้อารมณ์แบบพื้นบ้านที่ไพเราะน่าฟัง แตกต่างไปจากเพลงไทยอย่างชัดเจน เป็นแบบอย่างของลูกทุ่งแท้ ๆ หากนำวิธีเอื้อนที่ใช้ในเพลงไทยไปใช้กับเพลงลูกทุ่งแล้ว เพลงนั้นก็จะขาดรสความเป็นลูกทุ่งทันที ในทางกลับกันจะนำเอื้อนลูกทุ่งไปใช้ในเพลงไทยก็ไม่ดีเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมฯ <a href='http://www.culture.go.th/knowledge/tfolksong/file03_1.htm' target='_blank'>http://www.culture.go.th/knowledge/tfolksong/file03_1.htm</a></span>
churace
 

โพสต์โดย churace » เสาร์ ก.ย. 13, 2008 1:59 am

<span style='font-size:14pt;line-height:100%'>เรื่องนี้เกิดขึ้นกับ ดีเจ.สุพรทิพย์ และเป็นเหตุการณ์ที่แสนประทับใจมิรู้ลืม

เป็นเวลานับ 10 ปีแล้ว
ที่”ป้าช้าง”จะต้องโทรศัพท์ไปขอเพลง
ที่สถานีวิทยุ วส.912 นทพ.นธ.99.10 mhz

ป้าช้างจะโทรไปทุกๆเช้าค่ะ
เพราะป้าช้างโปรดปรานเพลงลูกทุ่งและลูกกรุง
ในรายการที่ชื่อว่า”ลูกทุ่งพัฒนา”

ดีเจ.ที่รับโทรศัพท์ของป้าช้างบ่อยๆ
ก็คือ ร.อ.หญิงสุพรทิพย์ คำทรงศรี
นายทหารหญิงผู้นี้มาจัดรายการที่นี่เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
รูปแบบรายการก็จะเน้น ข่าวสาร วิถีชีวิต
ข่าวบริการ งานบุญ งานศพ

ร.อ.หญิงสุพรทิพย์ บอกว่า ป้าช้างโทรมาครั้งแรกประมาณปี 2519
และขอเพลง “แสบเข้าไปถึงทรวง”

แหมมม…ดูชื่อเพลงที่ป้าช้างขอ….
น่าจะพอบอกได้ว่าป้าช้างแกเป็นคนอารมณ์ดีนะคะ…

หากแม้บางครั้งป้าช้างไม่ว่าง
ก็มักจะให้คนอื่นโทรมาขอแทน
และคนที่โทรมาแทนก็มักจะบอกทุกครั้งว่า “ป้าช้างขอ”

ในช่วงปี 2531 – 2532
เป็นช่วงที่ป้าช้างโทรมาขอเพลงเองบ่อยมากค่ะ

จนวันหนึ่ง….
ความจริงก็เปิดเผยออกมาว่า
“ป้าช้าง”ผู้นี้………..ก็คือ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


ร.อ.หญิงสุพรทิพย์ เคยไปเฝ้ารับเสด็จ
เมื่อเจอหน้า ดีเจ.ผู้โชคดี….
ป้าช้างทรงมีรับสั่งว่า
“ชอบฟังนะ…วันนี้ก็ฟังนะ
แต่วันไหนติดงานก็ไม่ได้ฟัง”

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ</span>

ข้อมูลจาก <a href='http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2006/01/E4053123/E4053123.html' target='_blank'>http://topicstock.pantip.com/blueplanet/to...3/E4053123.html</a>
churace
 

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง Web Moderator

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Majestic-12 [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน