วันนี้ลบรูปที่ไม่มีประโยชน์ทิ้ง พอดีเห็นไฟล์นี้ น่าจะพอมีประโยชน์กับแม่บ้านรุ่นใหม่
หม้อพวกและซึ้งนี้เป็นของเก่า ที่ยายหนูไปซื้อมาจาก moving sale ชุดละเหรียญสองเหรียญเท่านั้น ส่วนซึ้งนึ่งแค่ 50เซนต์เอง
เครื่องมือ เครื่องใช้ก็มีอยู่แค่ 3อย่าง เท่าที่เห็นนี่แหละค่ะ
วิธีขัดหม้อสแตนเลส เอาฟองน้ำเขียวๆเหลืองๆนั่นแหละค่ะแบบที่ไม่มีรอยขีดข่วนก็มี บีบน้ำยาในขวดลงบนฟองน้ำ แล้วถูลงบนหม้อไม่ต้องออกแรงขัดนะ จนฟองน้ำแห้ง ก็ล้างน้ำอุ่นออกครั้งหนึ่ง ถ้าต้องการให้หม้อเงามากๆ ต้องขัดซ้ำสอง
หม้ออลูมิเนี่ยม ใช้ฝอยขัดหม้อที่มีสบู่กรดผสมอยู่ (กล่องเหลือง) จุ่มน้ำแล้วขัดหลายๆรอบ ทำวิธีเดียวกัน กับหม้อสแตนเลส
ส่วนหม้อที่ไหม้ ห้ามแช่น้ำเด็ดขาด เพราะเป็นการทำให้คราบไหม้ฝังแน่น ปล่อยทิ้งไว้ให้หม้อเย็นเอง แล้วเอาฝอยขัดหม้อแบบสแตนเลสคล้ายๆผมตาวุฒิอ่ะ ขัดก่อน โดยที่ไม่ต้องใช้สบู่หรือน้ำยา จนคราบบางลง แล้วจึงขัดด้วยฝอยขัดหม้อแบบสบู่กรด ถึงจะเป็นหม้อสแตนเลสก็ตามเมื่อถึงตอนนี้แล้วไม่ต้องกลัวรอยขีดข่วนแล้วดีกว่าเหวี่ยงลงถังขยะ...
หม้อที่ไหม้มากๆ อาจจะขัดออกไม่หมดในครั้งสองครั้งแรก แต่ถ้าขยันขัดบ่อยๆมันก็จะออกในที่สุด ถ้าไหม้แบบมากๆๆๆๆๆๆ แนะนำให้เหวี่ยงลงถังขยะไปเลย...
นี่เป็นน้ำยาขัดสำหรับร้านอาหาร แต่ไม่ได้เรื่องเลย แพงก็แพง เปลืองก็เปลือง ถ้าเกาะหนาขนาดในรูปข้างกระป๋อง ยายหนูว่าเอามีดขูดๆออกซ๊ะก่อน แล้วค่อยขัดจะดีกว่า..แต่ถ้าจะให้ดี ล้างและขัดทุกครั้งหลังใช้งาน มันจะได้ไม่สะสมเกาะแน่นขนาดนั้น
ยายหนูจะไม่ค่อยได้ใช้หม้อเคลือบเพราะเป็นคนมือหนัก ทำอะไรไม่ค่อยระวัง ไม่รักษาของก้นหม้อ กะทะ เป็นลอยขูดขีดหมด เมื่อเราเอามาใช้ มันจะหลุดลอกผสมกับอาหาร กินเข้าไปไม่ดี ชอบอะไรที่เป็นสีขาวๆ เมื่อมันสกปรกเราจะเห็นได้ชัดเจน
อย่างเครื่องสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ที่บ้านเรา มีทั้งสีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน ราคาก็แพงกว่าสีขาว บางคนชอบบอกว่าไม่สกปรกง่าย ไม่เหมือนสีขาว เอ...ยายหนูงงเขาคิดกันยังไงน้า..จะสกปรกง่ายหรือยาก มันก็สกปรก สีขาวซิดีเห็นรอยสกปรกง่าย เราจะได้ทำความสะอาดทั่วถึง..อ้าว..พล่ามมาซะยึดยาว จบล่ะนะ.