<span style='font-size:14pt;line-height:100%'><span style='color:red'>๘๐ เรื่องของในหลวงที่เรา(อาจ)ไม่เคยรู้</span></span>
<span style='font-size:12pt;line-height:100%'><span style='color:blue'>เมื่อทรงพระเยาว์</span></span>
๑. ทรงพระราชสมภพเวลา ๐๘.๔๕ น.
๒. นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ ๖ ปอนด์
๓. พระนาม ภูมิพล ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
๔. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
๕. ทรงมีชื่อเล่นว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
๖. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ๑ ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า H.H. Bhummibol Mahidol หมายเลขประจำตัว ๔๔๙
๗. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนี หรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า แม่
๘. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง
๙. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
๑๐. สมัยทรงพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไป ก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
๑๑. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่าบ๊อบบี้
๑๒. ทรงฉลองพระเนตร (แว่นสายตา) ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม ๑๐ ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่า เวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
๑๓. สมัยทรงพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่าโทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรอง ๓ ที มากเกินไป ๒ ทีพอแล้ว
๑๔. ระหว่างประทับอยู่สวิสเซอร์แลนด์ โดยระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
๑๕. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก การให้ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสิน เรียกว่า กระป๋องคนจน หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก เก็บภาษี หยอดใส่กระปุกนี้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
๑๖. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆเขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มากค่อยเอาไปซื้อจักรยาน
๑๗. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง ๘ พรรษา
๑๘. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
<span style='font-size:12pt;line-height:100%'><span style='color:blue'>พระอัจฉริยภาพ</span></span>
๑๙. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจากการเล่นสมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐาซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
๒๐. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ เพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
๒๑. ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ ลังเพลง (แอกคอร์เดียน)
๒๒. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ ๑๔-๑๕ พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา ๓๐๐ ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
๒๓. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
๒๔. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนม์พรรษา ๑๘ พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ แสงเทียน จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด ๔๘ เพลง
๒๕. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น ๕ เส้น แล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง เราสู้
๒๖. รู้ไหม ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่ ๕
๒๗. - - - -
๒๘. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
๒๙. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง นายอินทร์ และ ติโต ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์แต่พระมหาชนก ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
๓๐. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกีฬาซีเกมส์) ครั้งที่ ๔ ปี พ.ศ.๒๕๑๐
๓๑. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
๓๒. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ กังหันชัยพัฒนา เมื่อปี ๒๕๓๖
๓๓. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตร เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์, ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๒๐ ปีแล้ว
๓๔. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่ในหลวง เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจ ด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
<span style='font-size:12pt;line-height:100%'><span style='color:blue'>เรื่องส่วนพระองค์</span></span>
๓๕. พระนามเต็มของในหลวง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
๓๖. รักแรกพบของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์ เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า น่าจะเป็นเกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย ๔ โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
๓๗. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ ๑๐ สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม ๑๐ บาท
๓๘. หลังอภิเษกสมรส ทรงฮันนีมูนที่หัวหิน
๓๙. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน
๔๐. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
๔๑. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพง ต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
๔๒. เครื่องประดับ ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้นนาฬิกา
๔๓. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
๔๔. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และกดเป็นรอยบุ๋ม
๔๕. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรณคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ ถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง
<span style='font-size:12pt;line-height:100%'><span style='color:blue'>งานของในหลวง</span></span>
๔๖. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า ๓,๐๐๐ โครงการ
๔๗. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆ จะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ ๓ สิ่งคือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง (ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
๔๘. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่าง แม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
๔๙. เก็บร่ม ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
๕๐. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
๕๑. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน ๓๒,๘๖๖.๗๓บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการ พัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
๕๒. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
๕๓. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ
๕๔. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก ๕ ชั่วโมง (๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
<span style='font-size:12pt;line-height:100%'><span style='color:blue'>ของทรงโปรด</span></span>
๕๕. อาหารทรงโปรด โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
๕๖. ผักที่ไม่โปรด ผักชี ต้นหอม และตังช่าย
๕๗. ทรงเสวยข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
๕๘. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
๕๙. เครื่องดื่มทรงโปรด โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
๖๐. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศสของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
๖๑. ทรงฟัง จส.๑๐๐ และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที่ จส.๑๐๐ ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
๖๒. หนังสือที่ในหลวงอ่าน ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีค เอเชียวีค ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
๖๓. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูดลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๑ เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มีลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ ๕๐ ปีแล้ว
๖๔. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทมบนชั้น ๘ ของตำหนักจิตรลดาฯ เป็นห้องเล็กๆ ขนาด ๓x๔ เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
๖๕. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวลแล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก ๓๓ ตัว
<span style='font-size:12pt;line-height:100%'><span style='color:blue'>รู้หรือไม่</span></span>
๖๖. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ในหลวง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
๖๗. ทรงเชี่ยวชาญถึง ๖ ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
๖๘. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆ ทรงโปรดให้กรอกในช่องอาชีพของพระองค์ว่า ทำราชการ
๖๙. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง ๒๐ พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า ๖๐ ปี
๗๐. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก
๗๑. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ ๑๒ แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
๗๒. หัวใจทรงเต้นไม่ปกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
๗๓. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
๗๔. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม ๖ ล้านคน
๗๕. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จน ๒๙ ปีต่อมา จึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร ๔๙๐ ครั้ง ประทับครั้งละ ๓ ชั่วโมง ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน ๔๗๐,๐๐๐ ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ ๓ ขีด รวม น้ำหนักทั้งหมด ๑๔๑ ตัน
๗๖. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
๗๗. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
๗๘. นั่งรถหารสอง ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง ให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด
๗๙. - - - -
๘๐. พระราชประวัติในหลวง ฉบับการ์ตูน